วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาษาไทย วรรณคดี ม.2


บทที่ ๑ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร



ผู้แต่ง    โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต พระนิพนธ์พระเ้จ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
ลักษณะคำประพันธ์    โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้างแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ๖ บท
                                โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิตแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท
ที่มาของเรื่อง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพ และให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารที่เขียนรูปภาพติดประจำทุกกรอบ รูปใหญ่ ๖ บท รูปเล็ก ๔ บท มีทั้งหมด ๙๒ ภาพ โคลงที่แต่งมีจำนวนทั้งหมด ๓๗๖ บท สร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ และไปประดับที่พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เนื้อเรื่อง

 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินสยาม จึงนำกำลังพลออกตั้งค่ายเตรียมรับศึกและดูกำลังฝ่ายตรงข้าม แล้วนำกำลังพลออกมากลางสนามรบ สมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แต่งองค์ทรงเครื่องเยี่ยงชาย เป็นชุดออกศึกเฉกเช่นมหาอุปราช แล้วทรงช้างเข้าร่วมรบ กองทัพหน้าของทั้งสองฝ่ายต่อสู้กัน ช้างทรงของพระเจ้าแปรได้ชนช้างกับพระมหาจักรพรรดิ พระมหาจักรพรรดิเสียทีเพลี่ยงพล้ำพระเจ้าแปร สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงว่าพระสวามีจะสิ้นพระชนม์ จึงได้ไสช้างเข้าขวางพระเจ้าแปรและสูกับพระเจ้าแปรแทน พระเจ้าแปรได้เอาง้าวฟันสมเด็จพระสุริโยทัยขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง สองพระโอรสคือพระราเมศวรและพระมหินทราได้กันพระศพแล้วนำเข้าสู้พระนคร สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงเหลือแต่คำสรรเสริญไว้ พระเจ้าสรรเพชรที่ 8 ของกรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จ ออกประพาส เพื่อออกไปทรงปลา(ตกปลา) โดยประทับเรือพระที่นั่งชื่อเรือ เอกไชย ถึงที่โขกขาม ด้วยความที่คลอง โขกขาม นั้น มีความคดเคี้ยวมาก จึงทำให้หัวเรือพระที่นั่งแล่นไปชนกับไม้จนหัวเรือพระที่นั่งหัก  พันท้ายนรสิงห์ตกใจเป็นอย่างมาก จึงกระโดดลงจากเรือพระที่นั้ง และขอให้พระเจ้าสรรเพรช ประหารชีวิตตน และทูลขอให้ นำศีรษะของตนกับหัวเรือที่หัก ไปฝั่งไว้ด้วยกัน พระเจ้าสรรเพรชร เห็นว่าไม่ใช่ความผิดของพันท้ายนรสิงห์ จึงไม่ยอมลงโทษ แต่พันท้ายไม่ยอม จะให้ พระเจ้า สรรเพรชประหารชีวิตตนให้ได้ พระเจ้าสรรเพรช จึง ยื่นข้อเสนอให้ ว่า จะสร้างรูปเหมือน ของพันท้ายนรสิงห์ และฟันหัวรุปปั้นนั่นแทนศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม พร้อมทั้งยังทูล กับพระเจ้าสรรเพรช ที่ไม่ทำตามกฏมนเฑียรบาล ที่กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทรัพย์สินของพระมหากษัติเสียหาย จะต้องได้รับโทษดดยการประหารชีวิต  พระเจ้าสรรเพรชจึงต้องทำตามคำร้องของพันท้ายนรสิงห์ และเมื่อ พันท้านนรสิงหืเสียชิวิต พระเจ้าสรรเพรช จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯให้นำศรีษะของพันท้ายนรสิงห์ และหัวเรื่อพระที่นั่ง ไปฝั่ง และสร้างศาล ขึ้นเพื่อ แสดงถึงคุณงามความดี ที่พันท้ายนรสิงห์ได้ทำไว้
กฤติคุณ                      ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี
ขุนมอญ                      พระเจ้าแปรซึ่งเป็นกษัตริย์พม่า
โขนเรือ                      ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือให้งอนเชิดขึ้นไป
คชาชาญ                     ช้างทรง ช้างพระที่นั่ง
คว้าง                          เคลื่อนลอยไปอย่างรวดเร็ว
เครื่องยุทธพิชัย         เครื่องแต่งกายที่แต่งออกรบ
ไคล                           เข้าขบวนและเคลื่อนที่ไป
ดัสกร                        ข้าศึก ศัตรู
เถลิง                         ขึ้น ใช้กับเถลงถวัลราชสมบัติ เถลิงศก
ทรงปลา                      ตกปลา
นิกร                           หมู่พวก
ประจัญ                       ปะทะสู้รบ
เผ้าภูวดล            พระเจ้าแผ่นดิน
ม่าน                          พม่า
โรมรัน                      รบพุ่ง
สมร                        (สมรภูมิ )การรบ
สาร                          ช้างใหญ่  

บทที่ ๒ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก




ผู้แต่ง                       พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์   กลอนเสภา (กลอนสุภาพ)
                               ตอน วิศวกรรมา เป็นกลอนทั้งหมด ๑๓ บท
                               ตอน สามัคคีเสวก เป็นกลอนทั้งหมด ๙ บท
ที่มาของเรื่อง            เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖) ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์    ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗
จุดประสงค์ในการแต่ง    เพื่อใช้เป็นบทสำหรับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ
      

เนื้อเรื่อง


บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา
           ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจืตใจสนใจความงดงามของศิลปะ
แต่หากประเทศใด(ชาติใด)บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม  ประชาชนก็จะทำนุบำรุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรือง
ชาติใดที่ปราศจากช่างศิลป์  ก็เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ไม่มีความงามไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของใคร  มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย  อันศิลปกรรมนั้นช่วยทำให้จิตใจคลายเศร้า  ช่วยทำให้ความทุกข์หมด  ทำให้จิตใจของเรามีความสุขซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย(ทำให้สุขภาพ ใจและกายดี)  ตรงกันข้าม  หากใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ  เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยรสมานบาดแผลของจิตใจ  เขาเหล่านั้นจึงเป๋นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก  เพราะความรู้ทางช่างศิลป์สำคัญเช่นนี้  นานาประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและความสามารถเชิงช่างของช่างศิลป์ ว่าเป็นเกียรติยศ ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน  คนที่ไม่เห็นคุณค่าของศิลปะก็เหมือนคนป่าคนดง  ป่วยการอธิบาย  พูดด้วยก็เปลืองน้ำลายเปล่า
แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงานช่างศิลป์ เช่น ช่างปั้น  ช่างเขียน  ช่างสถาปัตย์ ช่างทองรูปพรรณ  ช่างเงิน  ช่างถมและช่างอัญมณี  ซึ่งเราควรสนับสนุนงานช่างศิลป์ไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองอย่าให้ด้อยน้อย หน้ากว่านานาประเทศ  ชาวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยจะได้ซ้อหางานศิลปะเหล่านี้กลับไปเพราะเห้น ในคุณค่า  การช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรม  และส่งเสริมช่างศิลปฺไทยให้สร้างสรรงานศิลปะขึ้นจึงเท่ากัยได้ช่วยพัฒนา ชาติ ให้เจริญพัฒนาอย่าถาวร 




บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก
          สิ่งหนึ่งที่เราควรมีไว้ในจิตใจคือ พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้าที่เราควรเกรงใจและเคารพนับถือ เราต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ควรนึกว่าพวกเราก็เป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งเหมือนลูกเรือที่ อยู่ในเรือกลางทะเลจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคีต่อกันและกัน ถ้าลูกเรือเชื่อฟังกัปตันก็จะต้องช่วยกัปตันอย่างแข็งขัน ต้องตั้งใจฟังคำสั่งของกัปตันเรือก็จะรอดไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกคอกัน เวลาคลื่นลมแรงเรือก็จะโคลงเคลง ต่อมาเรือก็จะจม ถ้าลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกำลังมาต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฏระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อนกัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟังพอถึงเวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล ถึงจะเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคีปรองดองกัน เหตุการณ์ในพระราชสำนักก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ตามทะเลมหาสมุทร เหล่าข้าราชการในราชสำนักก็เหมือนเป็นกะลาสีควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ที่ ต้องทำเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฏตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระ เจ้าแผ่นดินไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทำความดีให้สม กับที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน

คำศัพท์

กัปปิตัน                                     มาจาก captain ปัจจุบันเขียน กััปตัน
จำนง                                        มุ่งประสงค์
เฉโก                                        ฉลาดแกมโกง ไม่ตรงไปตรงมา
ช่างเขียน                                   จิตรกร
ช่างประดิษฐ์รัชดา                       ช่างเงิน
ช่างรูปพรรสุวรรณกิจ                    ช่างทอง
ช่างสถาปนา                               ช่างก่อสร้าง สถาปนิก
ทรงธรรม์                                   พระเจ้าแผ่นดิน
นรชน                                       คน
นาริน                                       ผู้หญิง นาง นารี
บรรโลม                                   ทำให้พึงพอใจ ประโลม
โยเส                                       โยโส หยิ่งจองหอง
รัตนประกร                                ช่างเจียระไนเพ็ชรพลอย ประกร และว่าทำขึ้น ประดิษฐ์ขึ้น
ละวาด                                     งามอย่างภาพวาด
วิลาส                                       งามมีเสน่ห์
วิเลขา                                      งามยิ่ง
ศรีวิไล                                     civilized ศิลิไลซ์ เจริญ มีอารยธรรม
ศานติ                                      สันติ สงบ
สำอาง                                     งามสะอาด หมดจด
เสวก                                       เส-วก หมายถึงข้าราชการในราชสำนัก บาง

บทที่ ๓ ศิลาจารึก หลักที่ ๑

     
ผู้แต่ง       พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ประวัติผู้แต่ง ทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง
นื้อหาสาระ
           ตอนที่ 1 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์ ใช้คำแทนชื่อว่า  "กู"  เป็นพื้นจึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติ
           ตอนที่ 2 เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย การสร้างพระแทนมนังคศิลาการสร้างวัดมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัยและการประดิษฐ์อักษรไทย

           ตอนที่ 3 เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง  และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป
ลักษณะคำประพันธ์    เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร
จุดประสงค์ในการแต่ง    เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัตืศาสตร์
ข้อคิดที่ได้            ๑. ลูกที่ดีต้องมีความกตัญญูต่อบุพการีด้วยการปฏิบัติดูแลบำรุงเลี้ยงดู
            ๒. พี่น้องควรมีความรักและปรองดองกันไว้ โดยเฉพาะน้องต้องให้ความเคารพพี่
            ๓. ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมีความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจ
            ๔. การป้องกันบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองหรือผู้นำหากผู้นำเข้มแข็งและกล้าหาญ บ้านเมืองก็อยู่รอดปลอดภัยและไพร่ฟ้าก็มีความผาสุก

เนื้อเรื่อง


คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑-๑๘ เฉพาะที่เล่าประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
โดยแบ่งวรรคตอนใหม่ตามทรรศนะของนักวิชาการ


พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง
ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก
เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก
พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า
ไพร่ฝ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี
กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน
ตนกูพู่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี
พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพู่งช้างขุนสามชน
เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู
กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู
กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปท่บ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู
พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู
พี่กูตายจึ่งได้เมืองแก่กูทังกลม...
                      

เกลื่อนเข้า                  เคลื่อนพลเข้า
ขึ้นชื่อ                        ตั้งชื่อ เรียกชื่อ
เงือน                         เงิน
ได้ช้างได้งวง              ได้ช้าง (งวง ภาษาถิ่นแปลว่า ช้าง)
ได้ปั่วได้นาง               ได้บริวานชายหญิง ปั่ว แปลว่า ชาย เป็นคำเดียวกับ บ่าว
ต่อช้าง                       ชนช้าง
ตัวเนื้อตัวปลา              สัตว์บกสัตว์น้ำ
ตีหนังวังช้าง                คล้องช้าง
เตียมแต่                    ตั้งแต่
ท่                             ตี
ทั้งกลม                     ทั้งสิ้น ทั้งหมด ปัจจุบันยังมีที่ใช้ในความหมายว่า ตายทั้งกลม
นาง                          บริวารหญิง
บานเมือง                   เป็นชื่อเฉพาะ บาน เป็นคำไหย มีความหมายว่า ทำให้บ้านเมืองเบิกบาน
บำเรอ                       รับใช้ ปรนนิบัติ
ผู้อ้าย                        คนโต อ้าย เท่ากับลูกชายคนที่ ๑
เผือ                          เรา ๒ คน
พ่ง                           รบ
เพื่อ                         เพราะ 
แพ้                          ในความหมายเดิมแลว่า ชนะ
ไพร่ฟ้าหน้าใส            ไพร่พล ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หมายถึง ไล่พลของพ่อ
เมื่ิอชั่ว                      เมื่อครั้ง ในสมัย
เวน                          มอบ ถวาย
โสง                          สอง
หนีญญ่ายพายจแจ้น    หนีอย่างชุลมุน ภาษาอีสาน พาย หมายความาว่า ไป ญญ่าย คืิอ
                               ญ่ายญ่าย (ไปอย่างรวดเร็ว) จแจ้น คือ แจนแจน (ชุลมุนวุ่นวาย)
หมากส้ม                   ผลไม้รสเปรี้ยว
หมากหวาน                ผลไม้รสหมาน
หัวซ้าย หัวขวา            ปีกซ้าย ปีกขวาของกองทัพ 


บทที่ ๔ บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก







ผู้แต่ง
  
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ลักษณะคำประพันธ์  กลอนบทละคร
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน
ที่มาของเรื่อง   บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ข้อคิดที่ได้รับ  1. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
                     2. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
                     3. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
                     4. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
                     5. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่องย่อ
        นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ  โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร  ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ  ด้วยการลูบหัวบ้าง  ถอนผมบ้างจนกระทั่งหังโล้นทั้งศรีษะ  นนทกแ้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้  จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง 10 ล้านปี  ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย  จึงทูลขอให้นิ้วเพชร  มีฤทธฺ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย   พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ  ไม่นานนักนนทกก็มีใจกำเริบ  เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย  นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก   พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว  โปรดให้พระนาายณ์ไปปราบ
        พระนารายณ์ แปลวเป็นนางฟ้ามายั่วยวน  นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง  นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก  นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลง
        จากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์  จึงตอบว่า พระนารายณ์  ว่าเอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ  มีถึง 4  กร  แต่ตนมีแค้ 2 มือ  และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก
        พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก  ไปเกิดใหม่ให้มี  20 มือ  แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ  ลงไปสู้กัน  หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตาย
        ชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกรรฐ์   ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

คำศัพท์

กระเษียรวารี                   เกษียร สมุทรหรือทะเลน้ำนม
ไกรลาส                         ชื่อภูเขาที่เป็นที่ประทับของพระอิศวร
คนธรรพ์                        ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในวิชาคนตรีและขับร้อง
จุไร                               ผมที่เกล้าเป็นจุกและประดับอย่างสวยงาม
ตรัยตรึงศา                      ตรัยตรึงศ์หรื่อดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓
ตรี                                 คือตรีศูล เป็นอาวุธสามงาม ปกติเป็นเทพอาวุธของพระอิศวร
เทพอัปสร                       นางฟ้า
ธาตรี                              แผ่นดิน,โลก
นนทก,นนทุก                   ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่๑ ตัวละครตัวนี้ชื่อว่านนทก
นาคี                               นาค คืองูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย
บทบงสุ์,บทศรี                  ใช้หมายถึงพระบาทของเทวดาหรือกษัตริย์ เป็นต้น
บังเหตุ                            ประมาท,ทำให้เป็นเหตุ
พระหริวงศ์                      พระนารายณ์
พระองค์ทรงสังข์คทาธร      พระนารายณ์ ตามคติอินเดียว่ามีสี่กรถือสังข์ จักรคทาและธรณี
ไฟกาล                           ไฟกัลป์ หรือ ไฟบรรลัยกัลป์
ภักษ์ผล                          ผลสำเร็จ
ลักษมี                            ชายาของพระนารายณ์
วิทยา                             ในที่นี้คือ วิทยาธร ชาวสวรรค์พวกหนึ่งมีวิชาอาคม
สำเร็จมโนรถ                   ได้ตามต้องงการ
สิ้นท่า                             ครบทุกท่ารำ
สุบรรณ                           ครุฑ คือ พญานกในเทพนิยาย
สุรัสวดี                            ชายาของพระพรหม
โสมนัสา                          คือคำวา โสมนัยน์ หมายความว่า ยินดี
หัสนัยน์                           ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทรเหป็นเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อสุนี                                อสุนีบาต หมายถึง ฟ้าผ่า
อัฒจันทร์                         ในที่นี้หมายถึงขั้นบันได

บทที่ ๕ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง




ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์  (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ลักษณะคำประพันธ์  กาพย์ห่อโคลง  คำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง มีลักษณะทางฉันทลักษณ์ดังนี้ ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี 1 บท แล้วตามด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บทใจความเหมือนกัน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพรวม 108 คู่ และโคลงปิดท้ายมี 2 บท
จุดประสงค์ในการแต่ง   เป็นบทชมธรรมชาติ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทาง
ที่มาของเรื่อง หนังสือปริทรรศน์ วรรณคดีไทยของนายตำรา ณ เมืองใต้


เนื้อเรื่อง
บทที่ ๑
        ขบวนเสด็จของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จเคลื่อนออกจากวังอย่างสมพิธี เต็มไปด้วยผู้ตามเสด็จมากมาย ทรงช้างพระที่นั่งชื่อว่า เทพลีลา

บทที่ ๒ - ๕
        ในการเสด็จประพาสธารทองแดงครั้งนี้ ขบวนเสด็จได้รับการจัดอย่างสมพระเกียรติ มีเครื่องสูงพร้อมเพรียง เหล่าพลทหารถือธงนำหน้างามไสว ขุนนางเป่าปี่ประกอบขบวนเสด็จแสนไพเราะเหมือนเสียงร้องของนกการเวก

บทที่ ๖
        เมื่อขบวนเสด็จเคลื่อนคล้อยเข้าแนวป่า ทอดพระเนตรเห็นฝูงช้างใหญ่น้อยหลากหลายพันธุ์ลงเล่นน้ำอยู่อย่างสำราญ

บทที่ ๗ - ๑๐๗
        เป็นการพรรณนาถึงความงามของธรรมชาติรอบตัว พร้อมทั้งบอกสิ่งที่พบเห็นว่าประกอบไปด้วย กระบือ กวาง เนื้อทราย หมูป่า หมาใน(สุนัขจิ้งจอก) กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว ลมาด โค ฟาน ลมั่ง สิงคนัด เลียงผา งู เม่น กระต่ายป่าหลายพันธุ์ กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง งูเขียว ตุ๊กแก นกยูง นกเขา นกกด ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกหว้า พังพอน งูเห่า หนูป่า นกแก้ว นกสาลิกา นกกระตั้ว นกแขกเต้า นกโนรี นกกระจิบ นกกางเขน นกขมี้น นกคุ่ม พรรณไม้ต่างๆ เช่น พุทธชาต มะยม สาเก ซร้องนาง เล็บมือนาง ชงโค กล้วยไม้ ทองกวาว ลำใย ตะเคียน หมากม่วง ไทร หัวลิง หงอนไก่ ชมสัตว์น้ำ ปลาเทโพ ปลาเทพา ปลาตะเพียน ปลากา ปลาอ้ายบ้า ปลาสลุมพร(ปลาเนื้ออ่อน) ปลาม้า(ปลาหางกริ่ว) ปลาหนวดพราหม ปู กุ้ง หอยโข่ง หอยขม และหอยตาวัว

บทที่ ๑๐๘
         เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเพียรพยายามแต่งไว้ใช้ชนรุ่นหลังอ่านกันสืบไป อันเป็นการสรรเสริญเทิดพระเกียรติพระองค์ที่ล้ำเลิศในเชิงกวีตลอดไป

บทที่ ๑๐๙
         กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้แต่งจนจบบริบูรณ์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จกลับวัง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้ขัดเกลาจนมีเนื้อความสมบูรณ์เพราะพริ้ง โดยหวังให้ชนรุ่นหลังได้มีโอกาสชื่นชมผลงานของพระองค์ และเก็บรักษาให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

บทปิดท้าย           
          กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงนี้ได้เรียบเรียงด้วยถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก ผู้มีความรู้ในเชิงกวีจะอ่านได้อย่างไพเราะยิ่ง หากผู้ใดไม่มีความรู้ในเชิงกวีสักแต่ว่าอ่านไปตรงๆ ไม่รู้จักลีลาในการอ่านแล้ว จะทำให้คุณค่าในงานนิพนธ์ชิ้นนี้เสื่อมเสียไปได้

คำศัพท์

กระจิด                            ตัวเล็ก
กระจุ้ย                            คือ จุ้ย หมายถึงเล็กๆ
คางแข็งขยัน                    อ้าปากงับได้แน่น
เคี่ยว                             เป็นรูปเอกโทษของเขี้ยว
ไคล                              ตะไคร่น้ำ
จอก                             ไม้น้ำชนิดหนึ่ง ไม่ีมีลำต้น ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อนๆกัน
ฉวาง                             ขวาง      
ช้อย                             อ่อนช้อย
ซร้องนงพงา                   ร้องนางหรือช้องนาง   
ต้นพวา                         ต้นมะม่วง
แต่ค่าไม้                       จากคบไม้
ถู้                                เป็นรูปโทโทษของทู่ หมายถึงไม่แหลม
แปล้                            แบนราบ
ไปล่                            ผาย แบะ
ผาดผัง, ผายผัน             ไปโดยเร็ว
พันขนดเครียด               รัดให้แน่นมาก
เพรา, พรายเพรา            งาม
มัจฉาชาติ                     หมู่ปลา
รางชาง                        งาม สวย เด่น
รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง      ฟายหาง เป็นกิริยาของนกยูงเวลารำแพนหาง กวีใช้คำว่า "ฟ่าย" เพื่อเล่นล้อคำเอกกับคำว่า "ร่าย" และ "เฟื่อง"
สร่าย                           สาหร่าย
ส่องนิ้ว                         ชี้นิ้ว                                                                    
หง้า                             เป็นรูปโทโทษของ ง่า หมายถึง กางออก
หวั่นหว้าย                      ว่ายไปมา (หว้ายเป็นรูปโทโทษของ ว่าย)
หัวริกรื่น                        หัวเราะรื่นเริง
หรี้                               เป็นรูปโทโทษของ รี่
เหลื้อม                          เป็นรูปโทโทษของ เลื่อม

บทที่ ๖ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



ผู้แต่ง    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พระปิยมหาราช)
  
ลักษณะคำประพันธ์
        โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๘ บท
        โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๒ บท
        โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นร้อยแก้ว และสรุปด้วยโคลงสี่สุภาพ(เป็นสุภาษิต)มีทั้งหมด ๔ เรื่อง คือ ราชสีห์กับหนู , บิดากับบุตรทั้งหลาย , สุนัขป่ากับลูกแกะ , กระต่ายกับเต่า
ที่มาของเรื่อง
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย)
โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน (โดยทรงแปลมาจากโคลงเดิมที่เป็นภาษาอังกฤษ)
   โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน โดยทรงแปลมาจากนิทานกรีกฉบับภาษาอังกฤษ เพราะสมัยนั้นคนไทยนิยมอ่านเรื่องที่แปลมาจากวรรณคดีตะวันตกกันมาก โดยเฉพาะนิทานอีสป เพราะไม่ผูกติดกับขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมของชาติใดชาติหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลนิทานอีสปไว้ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานร่วมกับกวีอีก ๓ ท่าน คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ซึ่งรวมเรียกว่า “โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ”
จุดประสงค์ในการแต่ง
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ และ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมีความปลอดโปร่งในชีวิต    
โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้อ่านให้
พิจารณาคำสอนที่ได้จากนิทานเรื่องนั้นๆ

เนื้อเรื่อง

สาระสำคัญ           โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ กล่าวถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและสิ่งที่ควละเว้น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวม ๔๘ ข้อ ดังต่อไปนี้ว่าด้วยความสามอย่าง กล่าวถึง นักปราชญ์ได้แสดงเนื้อหาเป็นเรื่องสอนใจไว้อย่างครบครันเป็น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ เพื่อเป็นแม่บทให้แก่บัณฑิตผู้ที่มุ่งความหวังความสุข ขจัดความทุกข์ และมุ่งสร้างคุณงามความดีไว้เป็นที่สรรเสริญต่อไปได้ประพฤติและปฎิบัติตาม

        โคลงสุภาษิตนฤทุมการ กล่าวถึง ๑๐ ประการ ที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ เพราะเป็นความประพฤติดีในไตรทวาร (กาย วาจา ใจ ) อันจะยังให้เกิดผลดีแก่ผู้ประพฤติเองและต่อสังคมส่วนรวม 
            ๑.เพราะความดีทั่วไป                                     ๒.เพราะไม่พูดจาร้ายต่อใครเลย 
            ๓.เพราะถามฟังความก่อนตัดสิน                       ๔.เพราะคิดเสียก่อนจึงพูด 
            ๕.เพราะอดพูดในเวลาโกรธ                             ๖.เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน 
            ๗.เพราะขอโทษบรรดาที่ได้ผิด                        ๘.เพราะอดกลั้นต่อผู้อื่น 
            ๙.เพราะไม่ฟังคำคนพูดเพศนินทา                     ๑๐.เพราะไม่หลงเชื่อข่าวร้าย 
        ที่กล่าวมาทั้ง ๑๐ ประการนี้ แม้จะกระทำตามได้ไม่หมดทุกข้อ กระทำได้เป็นบางข้อก็ยังดี

        โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ
๑.ราชสีห์กับหนู

        มีราชสีห์ตัวหนึ่งกำลังนอนหลับอยู่ มีหนูตัวหนึ่งวิ่งขึ้นไปบนหน้าทำให้ราชสีห์ตกใจตื่นและโกรธพร้อมกับจับหนูไว้ได้และจะฆ่าเสีย แต่เจ้าหนูได้อ้อนวอนขอชีวิตไว้แล้วจะตอบแทนคุณในภายหลัง ราชสีห์หัวเราะแล้วก็ปล่อยเจ้าหนูตัวนั้นไป ต่อมาราชสีห์ถูกนายพรานจับมัดไว้ด้วยเชือกหลายเส้นส่งเสียงร้องดัง จนเจ้าหนูนั้นได้ยินมันจึงมาช่วยกัดเชือกจนขาดช่วยชีวิตราชสีห์ไว้ได้ 
๒. บิดากับบุตรทั้งหลาย        กล่าวถึงชายผู้หนึ่งมีบุตรที่ทะเลาะกันมิได้ขาด ผู้เป็นบิดาจะตักเตือนอย่างไรพวกเขาก็ไม่ฟัง ผู้เป็นบิดาจึงหาทางแก้ไขด้วยการสั่งให้บุตรทั้งหลายหาไม้เรียวให้กำหนึ่ง แล้วให้บุตรนั้นหักให้เป็นท่อนเล็กๆแต่พวกบุตรก็ไม่มีใครสามารถหักได้เลยสัก ผู้เป็นบิดาจึงแก้มัดไม้เรียวกำนั้นออก แล้วส่งให้บุตรหักทีละอัน ปรากฏว่าทุกคนหักได้โดยง่าย ผู้เป็นบิดาจึงสอนบุตรว่า “ หากพวกเจ้ามีความสามัคคีกันรักกันดุจไม้เรียวกำนี้ก็จะไม่มีใครมาทำร้ายพวก เจ้าได้ แต่ถ้าพวกเจ้าต่างคนต่างแตกแยกทะเลาะวิวาทกันเช่นนี้ก็จะมีภัยอันตรายได้ ก็จะเป็นประดุจไม้เรียวทีละอันที่ถูกทำลายได้โดยง่าย”
 ๓. สุนัขป่ากับลูกแกะ        กล่าวถึงสุนัขป่าตัวหนึ่งมาพบลูกแกะหลงฝูงตัว หนึ่ง มันคิดจะกินลูกแกะเป็นอาหาร จึงได้ออกอุบายกล่าวโทษเจ้าลูกแกะต่างๆนานา เพื่อให้ลูกแกะเห็นว่าตนมีความผิดจริงสมควรที่จะให้สุนัขป่าจับกินเป็นอาหาร แต่ลูกแกะก็ไม่ยอมรับ ในที่สุดด้วยความเป็นพาลเจ้าสุนัขป่าก็จับลูกแกะกินจนได้
๔. กระต่ายกับเต่า        กล่าวถึงกระต่ายตัวหนึ่งหัวเราะเยาะเต่าที่เท้า สั้นเดินช้า เต่าจึงท้ากระต่ายวิ่งแข่งกัน โดยให้สุนัขจิ้งจอกเป็นผู้เลือกทาง และกำหนดที่แพ้ชนะให้ พอถึงวันกำหนด ทั้งเต่าและกระต่ายก็ออกเดิน เริ่มต้นที่จุดเดียวกัน กระต่ายนั้นเชื่อมั่นว่าตนขายาวและวิ่งเร็วกว่าจึงเผลอพักหลับไป ครั้นพอตื่นขึ้นมาวิ่งไปโดยเร็ว พอถึงเส้นชัยก็เห็นว่าเต่าอยู่ที่นั่นก่อนนานแล้ว

คำศัพท์

กิริยาที่เป็นในใจ                    อารมณ์ เป็นคำที่แปลจา่ก temper
กูลพงศา                             วงศ์ตระกูล
ไตรยางค์                            องค์สามหรือสามส่วน
โทสาคติ                             ความลำเอียงเพราะความโกรธ
ธัญลักษณ์                           ลักษณะดี
พลันรักพลันจืด                     ความรักที่เกิดขึ้นง่ายและเปลี่ยนแปลงง่าย
ฤษยา                                 ปัจจุบันเขียน ริษยา
โสฬส                                เป็นศัพท์จากภาษาบาลี แปลว่า สิบหก
ขันตี                                  คือ ขันติ หมายถึง ความอดทน อดกลั้น
คดี                                    เรื่องราว
ความกษัย                          ความเสื่อม
ต้องโสต                             ถูกหู, น่าฟัง
ทศนฤทุมนาการ                   กิจ ๑๐ ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ
บ้าย                                  ป้าย
กักขฬะ                              หยาบคายมาก
กำหนดที่แพ้ชนะ                  ปัจจุบันใช้ว่า กำหนดเส้นชัย
เกลือก                               เผื่อว่า
เจ้าขะ                                เจ้าค่ะ
โฉด                                  โง่
ช้าชนะเร็ว                          หมายความว่า ความช้า (ของเต่า) เอาชนะความเร็ว (ของกระต่าย) ได้

บทที่ ๗ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า




ผู้แต่ง พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
ลักษณะคำประพันธ์    กลอนดอกสร้อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลอนสุภาพ เพียงแต่ขึ้นต้นด้วยเอ๋ย ลงท้ายด้วยเอย ๑ บทมี ๘ วรรค
คุณค่ เนื้อหาแสดงสัจธรรมของชีวิตด้วยถ้อยคำภาษาที่สละสลวย
ที่มาของเรื่อง     

        กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามาจากบทกวีนิพนธ์เรื่องElegy Writen in a Country Churchyardของทอมมัส เกรย์ (Thormas Gray)กวีอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่18
         *Elegyหมายถึงโคลงที่กล่าวไว้อาลัย หรือคร่ำครวญถึงผู้ที่จากไป โดยพระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ประพันธ์จากต้นฉบับแปลของเสฐียรโกเศศ เป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน33บท
ประวัติผู้แต่ง        
        พระยา อุปกิตศิลปสารเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๒ ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่วัดบางประทุนนอกธนบุรีและวัดประยูรวงศาวาสบวชเป็น สามเณรและพระภิกษุที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้เปรียญ ๖ ประโยคและศึกษาวิชาครูด้วยเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ภาษาบาลี และวรรณคดีโบราณ เคยเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาสำคัญหลายแห่งนามปากกาของ พระยาอุปกิตศิลปสาร ที่รู้จักกันมาก เช่น อ.น.ก. อุนิกา อนึก คำชูชีพ ม.ห.น. เป็นต้น เกียรติคุณพิเศษของพระยาอุปกิตศิลปสาร มีดังนี้
        -เป็นคนแรกที่บัญญัติคำทักทายเมื่อแรกพบกันว่า "สวัสดี" ซึ่งแปลว่า สะดวก สบายดี เพราะแต่ก่อนนี้แรกพบกัน คนไทยไม่มีระเบียบในการใช้คำทักทาย
        -เป็นนักประพันธ์ไทยคนแรกที่อุทิศโครงกระดูกให้แก่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์คือศิริราช โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครูตายแล้วขอเป็นครูต่อไป"
        -เป็น คนแรกที่แต่งตำรา "สยามไวยากรณ์" หรือตำราไวยากรณ์ไทย ได้สำเร็จบริบูรณ์คือมีทั้ง อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ โดยอาศัยเค้าโครงเก่าของกรมวิชาการ และไวยากรณ์อังกฤษเป็นหลัก 

เนื้อเรื่อง


  
เนื้อเรื่องย่อ

   
        เสียงระฆังดังหง่างเหง่ง  ทำให้ท้องทุ่งมืดมิดและทิ้งให้ข้าพเจ้าอยู่เพียงผู้เดียว  ในเวลานี้ทั่วแผ่นดินมืดมิด ป่าใหญ่แห่งนี้เงียบสงัด มีแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรร้องระงม และก็ได้ยินเสียงจากคอกวัวควายดังแว่วมาแต่ไกล เสียงนกแสกร้องขึ้นมาทำให้ข้าพเจ้าเสียขวัญ  ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าซึ่งเป็นที่ฝังศพของคนในเขตนั้น ศพที่นอนนิ่งอยู่ในหลุมลึกดูแล้วรู้สึกสลดใจ และตัวข้าพเจ้าเองก็ใกล้จะได้นอนอยู่ในหลุมนั้นเช่นกัน  ยามหนาวเคยนั่งผิงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ต้องมาทิ้งเพื่อนทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงหาอาหารให้รับประทานเช้าเย็น ทิ้งลูกน้อยที่เมื่อเห็นหน้าพ่อกลับมาก็ดีใจกอดคอฉอเลาะด้วยเสียงที่น่าฟัง ความทะเยอทะยาน ขออย่าบันดาลใจให้ดูถูกชาวนาและครอบครัวอันชื่นบานของเขา คนมีชาติตระกูลสูง คนมีอำนาจ คนมีหน้าตางดงาม   คนมีฐานะร่ำรวย ทุกคนต่างก็รอความตายเช่นเดียวกัน บางศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดงเกียรติยศอย่างดีที่ระลึกที่สร้างขึ้นถึงแม้จะงามเพียงใดก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูในคุณงามความดีของผู้ตายก็ไม่สามารถรับรู้ได้ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายของคนตายจมอยู่ใต้พื้นดินมากมาย ขออย่าได้ดูถูกถิ่นที่นี้ว่าไม่ดี เพราะอาจจะเป็นสถานที่มีชื่อเสียงมาก่อน อาจเป็นเจดีย์ หรือที่ฝังศพของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการในสมัยโบราณก็ได้ ซากศพทั้งหลายเหล่านี้ อาจเป็นซากศพของนักรบผู้กล้าหาญ เช่น ชาวบ้านบางระจันที่สู้รบกับกองทัพพม่าที่มาโจมตีกรุงศรีอยุธยาซึ่งอาจนอนถมจมดินอยู่ พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำในสิ่งที่ตนมุ่งหมายไว้และปิดบังความจริงบางอย่างไว้ไม่เปิดเผย  ดังนั้นควรถือสันโดษไม่ฟุ้งซ่านทะเยอทะยาน   ศพบางศพมีคำจารึกที่จูงใจให้เลื่อมใสและสักการะ   ต่างจากชาวนาหรือคนธรรมดาซึ่งจารึกเพียงชื่อวันเดือนปีที่ตายไป เพื่อจะได้มีชื่อเรียกในการอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่ชื่อนั้นชื่อนี้  แม้จะลืมที่ใดไปหมดแต่เมื่อใกล้ตายก็ยังคิดถึงชีวิตของตนเอง ใครจะยอมละทิ้งความสุขความสบายไปโดยไม่อาลัยไยดี ขอให้ดวงจิตจงลืมกิจการงานทั้งหลาย ที่เคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครอง ละทิ้งถิ่นที่เคยให้ความสุขซึ่งเคยคิดเป็นเจ้าของ ขอให้หมดวิตก หมดเสียดาย หมดความปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวมองมันอีก

คำศัพท์

เกราห์                         เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง
ขันธ์                           ร่างกาย
ซื้อ                             เย็น ร่ม ชื้น
ซ่อง                           ที่อยู่
เเถก                           เสือกไป ตรงไป ในความว่า เเถกขวัญ หมายความว่า ทำให้ตกใจ,ทำให้เสียขวัญ
ปวัตน์                         ความเป็นไป
ผาย หรือ ผ้าย              เคลื่อนจากที่
ม่าน                           ชนชาติพม่า
รำบาญ                       รบ
ลาญ                          เเตกหักทำลาย
สัตตรัตน์                     เเก้ว ๗ ประการ 
หางยาม                      หางไถตอนที่มือถือ
อธึก                           ยิ่ง เกิน มาก


นิราศเมืองแกลง

นิราศเมืองแกลง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกของเขาที่ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2349 มีใจความกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือเพื่อไปยังเมืองแกลง โดยมีศิษย์ 2 คนร่วมโดยสารไปด้วยกัน คือ น้อยกับพุ่ม และมีผู้นำทางชื่อนายแสง เป้าหมายการเดินทางของสุนทรภู่ไม่ปรากฏแน่ชัด บ้างว่าเขาต้องการไปบวชกับบิดา บ้างว่าเขาเดินทางไปขอเงินเพื่อกลับมาแต่งงาน นักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าสุนทรภู่กลับไปทำไม แต่ทางจังหวัดระยองได้นำเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เมืองแกลง

เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง

ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
เป็นอันว่าสุนทรภู่ถูกใช้ไปราชการด่วนจนถึงกับไม่มีเวลาไปบอกลาแม่จันได้เลย เหตุที่ว่าสุนทรภู่ต้องไปด้วยราชการก็เนื่องจากความท่อนหนึ่งว่า
จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา
ผู้ร่วมทางของสุนทรภู่ในการเดินทางคราวนี้ ได้แก่ นายแสง เป็นผู้นำทาง และน้อยกับพุ่ม ศิษย์น้องสองคน ทั้งหมดล่องเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะคลองบางนาไปออกแม่น้ำบางปะกงแล้วลงสู่ทะเล เลียบริมทะเลไปขึ้นฝั่งที่บริเวณหาดบางแสน จากนั้นจึงเดินเท้าต่อ สุนทรภู่ได้แวะพักที่บ้านขุนรามอยู่เป็นหลายวัน ก่อนจะออกเดินทางต่อไปเมืองแกลง ซึ่งในเวลานั้นเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนอยู่ในป่าทึบ หนทางจะไปถึงนั้นแสนกันดารและเต็มไปด้วยอันตราย ทั้งคณะเดินทางกันต่อจนไปถึงเมืองระยอง ถึงตรงนี้ นายแสงมิได้ร่วมเดินทางต่อไปด้วย
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนครศรีอยุธยา